วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จังหวัอุดร

Udon Thani : อุด
ถ้วยชามบ้านเชียง


น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรชันไฌน์
จังหวัดอุดรธานี เป็นจังหวัดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมและการท่องเที่ยว ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน มีความสำคัญอย่างยิ่งในทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของแหล่งอารยธรรมบ้านเชียง ซึ่งเป็นร่องรอยของอารยธรรมมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
นอกจากนี้ อุดรธานียังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่ง มีการทำหัตถกรรมที่น่าสนใจต่างๆ เช่น ผ้าขิด ชุมชนพื้นบ้านมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีเสน่ห์ตามแบบฉบับชุมชนไทยอีสาน ในเมืองและตามสถานที่ต่างๆ มีโรงแรมที่พักมากมาย และการคมนาคมสะดวกสบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีสนามบิน อุดรธานีจึงเป็นอีกเมืองหนึ่งที่นักเดินทางไม่ควรพลาดมาเยี่ยมเยือน




จังหวัดอุดรธานี มีเนื้อที่ประมาณ 11,730 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7.33 ล้านไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 11 ของประเทศ ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง ประกอบด้วยทุ่งนา ป่าไม้ และภูเขา พื้นที่เอียงลาดลงสู่แม่น้ำโขงทางจังหวัดหนองคาย ทางทิศตะวันตกมีภูเขาและป่าติดต่อกันเป็นแนวยาว มีทิวเขาสำคัญคือทิวเขาภูพาน ทอดเป็นแนวยาวตั้งแต่ตอนเหนือสุดจนถึงทางใต้สุด
จังหวัดอุดรธานีมี ประวัติศาสตร์อันยาวนาน จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบแสดงให้เห็นว่าบริเวณที่เป็นจังหวัดอุดรธานี ในปัจจุบันนี้ เคยมีชุมชนมนุษย์อยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หรือราว 5,000-7,000 ปีมาแล้ว เป็นชุมชนโบราณที่มีอารยธรรมความเจริญในระดับสูง สันนิษฐานว่า เครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่พบที่บ้านเชียงนั้น อาจเป็นเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่เก่าแก่ที่สุดของโลก
แหล่งอารยธรรมบ้านเชียง

บริเวณนี้มี ชุมชนอาศัยอยู่ต่อมา แต่เป็นเพียงชุมชนเล็กๆ ที่ไม่มีบทบาทในทางประวัติศาสตร์แต่อย่างใด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2428 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมและเจ้าหมื่นไวยวรนาถ ยกทัพไปปราบปรามพวกฮ่อในมณฑลลาวพวนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ที่รวมตัวกันก่อการร้าย กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม แม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ ได้นำทัพผ่านมายังบริเวณ ซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดอุดรธานีปัจจุบันนี้ และไปทำการปราบปรามพวกฮ่อจนสงบ ซึ่งในขณะนั้นชุมชนเดิมของอุดรธานียังเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อ "บ้านหมากแข้ง" หรือ "บ้านเดื่อหมากแข้ง" อยู่ภายใต้การปกครองของเมืองหนองคายซึ่งขึ้นอยู่กับมณฑลลาวพวน

ต่อมาเกิด กรณีพิพาท ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส และไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญามีเงื่อนไข ห้ามประเทศสยามตั้งกองทหารและป้อมปราการในรัศมี 25 กิโลเมตร จากฝั่งแม่น้ำโขง กองกำลังทหารไทยที่ตั้งประจำอยู่ที่เมืองหนองคาย ซึ่งมีกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการ จึงต้องเคลื่อนย้ายถอยร่นมาจนถึงบ้านเดื่อหมากแข้ง แล้วกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมก็ตั้งศูนย์มณฑลลาวพวนและกองทหารขึ้นใหม่ ณ หมู่บ้านแห่งนี้
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "มณฑลอุดร" ขึ้นที่บ้านหมากแข้ง จนกระทั่ง ได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ยกเลิกการปกครองในระบบมณฑลเทศาภิบาล มณฑลอุดรจึงถูกยุบเลิกไป และเปลี่ยนเป็น"จังหวัดอุดรธานี" นับแต่นั้นมา
หนองประจักษ์
ปัจจุบันจังหวัดอุดรธานี แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอหนองวัวซอ อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ อำเภอบ้านดุง อำเภอกุมภวาปี อำเภอโนนสะอาด อำเภอเพ็ญ อำเภอน้ำโสม อำเภอกุดจับ อำเภอศรีธาตุ อำเภอวังสามหมอ อำเภอทุ่งฝน อำเภอสร้างคอม อำเภอไชยวาน อำเภอหนองแสง อำเภอนายูง อำเภอพิบูลย์รักษ์ กิ่งอำเภอกู่แก้ว และกิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม
การเดินทางสู่อุดรธานี
อุดรธานีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 564 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดอุดรธานีได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง รถไฟ และเครื่องบิน
  • โดยรถไฟ:
    การรถไฟแห่งประเทศไทยมีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปยังจังหวัดอุดรธานีทุกวัน ทั้งรถเร็วและรถด่วน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10-12 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690 หรือ www.railway.co.th
  • โดยรถยนตร์:
    จากกรุงเทพมหานคร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แล้วแยกขวาเข้าใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดขอนแก่น ไปจนถึงจังหวัดอุดรธานี
  • โดยรถประจำทาง:
    มีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-อุดรธานี ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมงครึ่ง สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th
  • โดยเครื่องบิน:
    บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (www.thaiairways.com) ไทยแอร์เอเชีย (www.airasia.com) และนกแอร์ (www.nokair.co.th) มีเที่ยวบินระหว่าง กรุงเทพฯ-อุดรธานีทุกวัน
การเดินทางภายในอุดรธานี
ในตัวจังหวัดอุดรธานีมีรถชนิดต่างๆ ให้บริการ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะต่างๆ ได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสม
  • รถสองแถว มีวิ่งบริการจากสถานีขนส่งไปยังที่ต่างๆ ในตัวเมือง นักท่องเที่ยวอาจเหมารถสองแถวไปเที่ยวได้ทั้งในเมืองและต่างอำเภอ คิดราคาวันละ 1,000-2,000 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางและการต่อรอง
  • รถสามล้อ เครื่องและมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จอดอยู่ตามจุดต่างๆ ในจังหวัด เช่น หน้าตลาดเทศบาล หน้าสถานีขนส่ง ค่าบริการมีทั้งแบบตกลงกันตามแต่ระยะทางและแบบเหมาจ่าย
กิจกรรมการท่องเที่ยว
จังหวัดอุดรธานีมีทรัพยากรในด้านการท่องเที่ยวมากมายและหลากหลายรูปแบบ มีกิจกรรมท่องเที่ยวที่น่าสนใจทั้งทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต โดยมีกิจกรรมที่โดดเด่น คือ เที่ยวชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ชมการปั้นหม้อ ชมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เที่ยวชมและสักการะ 7 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ศาลเจ้าปู่-ย่า หลวงพ่อนาค วัดมัชฌิมาวาส พระพุทธโพธิ์ทอง ท้าวเวสสุวัณ (ท้าวกุเวร) ศาลหลักเมือง และศาลเทพารักษ์ และใส่บาตรเช้าที่วัดป่าบ้านตาด หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
หลวงตาบัว วัดป่าบ้านตาด

สำหรับผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติ มีกิจกรรมที่น่าสนใจ คือ ชมสวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์และสาวน้อยอุดรเริงระบำ ขี่จักรยานท่องเที่ยว เที่ยวถ้ำ เที่ยวน้ำตก พายเรือ ล่องแก่ง ดูนก เดินป่าศึกษาธรรมชาติ ชมพรรณไม้ พักผ่อนหย่อนใจ และตั้งแคมป์พักแรมที่วนอุทยานแห่งต่างๆ นอก จากนี้ยังมีกิจกรรมท่องเที่ยวแบบผ่อนคลายอื่นๆ เช่น ลงเล่นน้ำ ตกปลา นั่งเรือและล่องแพที่อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง พักโฮมสเตย์ ชมทะเลหมอก เที่ยวสวนผลไม้และแปลงเกษตร เรียนรู้การทำการเกษตร ชมวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวไทยพวน ขี่จักรยานชมหมู่บ้านและโบราณสถานต่างๆ ลิ้มลองอาหารพื้นบ้าน ชมการแสดงโปงลางและประเพณีพื้นบ้าน เดินชมตลาดและเลือกซื้อสินค้านานาชนิด หรือพักในรีสอร์ตสวย นวดแผนโบราณ และทำสปา เป็นต้น

พระพุทธบาทบัวบก

อุดรธานีเป็นจังหวัดที่เต็มไปด้วยสีสันหลากหลาย ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี และแหล่งธรรมชาติ อีกทั้งผู้คนในท้องถิ่นยังคงรักษาขนบธรรมเนียม และประเพณีดั้งเดิมอันงดงามไว้ได้อย่างเข้มแข็ง ตลอดทั้งปีจึงมีการจัดงานเทศกาลเฉลิมฉลองและงานประเพณีที่สำคัญ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศหลายงาน โดยมีงานเด่นดังประจำปีที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด คือ งานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก งานฉลองอารยธรรมบ้านเชียง งานทุ่งศรีเมืองอุดรธานี เป็นต้น

พระพุทธบาทบัวบก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น