วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จังหวัดอำนาจเจริญ

Amnatcharoen : อำนาจเจริญ
     



พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ
งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตพระเหลา เ
กาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม
ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม
   

จังหวัดอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 3,161.248 ตารางกิโลเมตร เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยขึ้นอยู่กับนครเขมราฐ ต่อมาจึงได้ย้ายมาขึ้นต่อเมืองอุบลราชธานี จนกระทั่งได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536 อำนาจเจริญแม้จะเป็นเมืองเล็กๆ ที่เงียบสงบแต่ก็มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าชม ทั้งวัดวาอาราม ธรรมชาติที่สวยงาม และหัตถกรรมฝีมือชาวบ้านที่น่าซื้อเป็นของใช้ ของฝาก จังหวัดอำนาจเจริญประกอบด้วย 7 อำเภอ
คลิกดูแผนที่ขนาดใหญ่
  อาณาเขต
ทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และติดต่อกับอำเภอเขมราฐ อำเภอกุดข้าวปุ้น และอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศใต้ติดต่อกับอำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศเหนือติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธรและอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
เครื่องใช้ที่ทำด้วยผ้าขิด
  ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอเมือง-- กิโลเมตร
อำเภอลืออำนาจ22 กิโลเมตร
อำเภอปทุมราชวงศา32 กิโลเมตร
อำเภอหัวตะพาน35 กิโลเมตร
อำเภอพนา47
กิโลเมตร
อำเภอชานุมาน78
กิโลเมตร
อำเภอเสนางคนิคม81กิโลเมตร
ประเพณีเทศกาลและแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจ



  • งานประเพณีลงข่วง
          อำเภอชานุมาน ประชาชนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวภูไท หรือผู้ไทย ที่อพยพมาจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ชาวภูไทมีความสามารถในการทอผ้าขิตเป็นพิเศษ การให้สีสันและลวดลายของผ้า จะเป็นเอกลักษณ์ของภูไทโดยเฉพาะ และยังมีดนตรีนาฏศิลป์พื้นบ้าน ได้แก่ หมอลำ ที่มีเนื้อหาในการส่งเสริมการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
          ประเพณีลงข่วง ซึ่งเป็นวิถีชีวิตแบบหนึ่งของชาวจังหวัดอำนาจเจริญในสมัยเก่า ให้เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีประจำจังหวัด การลงข่วงเป็นการชุมนุมกันของหนุ่มสาว ที่ฝ่ายสาวจะมีกิจกรรมทอผ้า สาวไหม เป็นต้น ขณะเดียวกันพวกหนุ่มๆ ก็จะมาร่วมวงสนุกโดยบรรเลงเพลงพื้นบ้านด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้าน อาทิ แคน พิณ ประกอบกับกิจกรรมทอผ้า และสาวไหม

พระมงคลมิ่งเมือง หรือพระใหญ่พุทธอุทยานและพระมงคลมิ่งเมือง 
        ตั้งอยู่ที่เขาดานพระบาท ห่างจากตัวเมืองไปทางด้านเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณวัดเป็นหินดานธรรมชาติ ร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด ซึ่งได้รับการปรับแต่งให้เป็น “พุทธอุทยาน” ส่วนพระมงคลมิ่งเมือง หรือพระใหญ่ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 11 เมตร ความสูงจากระดับพื้นดินถึงยอดเปลวรัศมี 20 เมตร เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลสกุลศิลปะอินเดียเหนือ (ปาละ) ที่แผ่อิทธิพลมายังภาคอีสานของไทย เมื่อพันปีเศษ ออกแบบโดย จิตร บัวบุศย์ ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กครอบองค์เดิม ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น แล้วแต่งองค์พระด้านนอกด้วยกระเบื้องโมเสคสีทอง สร้างเมื่อปีพ.ศ.2508 เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางด้านหลังของพระมงคลมิ่งเมือง มีพระพุทธรูปลักษณะแปลกอีก   2 องค์   ห่มจีวรเหลือง  มีนามว่า "พระละฮาย" หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "พระขี่ล่าย" หมายถึง ไม่สวย ไม่งาม โดยเรียกตามรูปลักษณ์ขององค์พระพุทธรูปโบราณ พบในหนองน้ำเมื่อปี พ.ศ. 2505 ครั้งที่มีการปรับปรุงบริเวณโดยรอบ เพื่อทำฝายกั้นน้ำ เชื่อกันว่าเป็นพระที่ให้โชคลาภ ประชาชนมักเดินทางมาขอพรอยู่เสมอ
วัดถ้ำแสงเพชรวัดถ้ำแสงเพชรหรือวัดศาลาพันห้อง 
        ตั้งอยู่บนถนนสายอำนาจเจริญ-เขมราฐ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 18 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายตามทางขึ้นเขาเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร พื้นที่วัดมีบริเวณกว้างขวาง ประกอบด้วย วิหาร เจดีย์และพระนอนที่ก่อสร้างอย่างสวยงาม ทางด้านทิศเหนือของวิหาร มีถ้ำขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม นอกจากนี้บริเวณศาลาพันห้อง สามารถชมธรรมชาติที่สวยงาม โดยรอบแวดล้อมด้วยโขดหินน้อยใหญ่มากมาย เหตุที่ได้ชื่อว่า ถ้ำแสงเพชร ก็เนื่องมาจากประกายของเกล็ดหินยามเมื่อต้องกับแสงตะวัน จะวาววับคล้ายกับแสงเพชร วัดถ้ำแสงเพชร เป็นสถานที่ปฎิบัติธรรมสายพระอาจารย์ชา สุภัทโท สาขาที่ 5 ของวัดหนองป่าพง มีพระภิกษุนานาชาติมาปฏิบัติธรรมอยู่เป็นประจำ
วัดพระเหลาเทพนิมิตรวัดพระเหลาเทพนิมิตร 
        ตั้งอยู่ที่อำเภอพนา บนทางหลวงหมายเลข 2134 ห่างจากตัวอำเภอพนาประมาณ 2 กิโลเมตร พระอุโบสถของวัดมีรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบล้านนา มีพระประธานคือ “พระเหลาเทพ-นิมิตร” เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ประดิษฐานในพระอุโบสถ องค์พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ลงรักปิดทองงดงาม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2263 กล่าวกันว่า เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในภาคอีสาน ซึ่งจัดอยู่ในพระพุทธรูปศิลปะลาวสกุลช่างเวียงจันทน์ ที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะล้านนา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21-22 สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นหลังจากระยะเวลาดังกล่าวไปเล็กน้อย เนื่องจากมีอิทธิพลของฝีมือช่างท้องถิ่นปรากฏอยู่มาก เป็นต้นว่า เค้าพระพักตร์ เปลวรัศมีที่ยืดสูงขึ้น สัดส่วนของพระเพลา และพระบาท ซึ่งคล้ายคลึงกับที่ปรากฏอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปไม้ และสำริด ที่สร้างขึ้นระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ถึงพุทธศตวรรษที่ 24




http://www.isangate.com/isan/amnat.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น