วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จังหวัดอุบลราชธานี


Ubon Ratchathani : อุบลราชธานี
เทียนพรรษา

คำขวัญของจังหวัดอุบลราชธานี


อุบลราชธานี เป็นเมืองใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 200 ปี เล่ากันว่า ท้าวคำผง ท้าวทิศพรหม และท้าวคำ บุตรพระวอ พระตา หลีกหนีภัยสงครามจากพระเจ้าสิริบุญสาร เจ้าแห่งนครเวียงจันทน์ เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้าตากสินมหาราช และต่อมาได้สร้างเมืองขึ้นที่บริเวณดงอู่ผึ้ง ใกล้กับแม่น้ำมูล ครั้น พ.ศ. 2323 พระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาราชสุภาวดี เชิญตราพระราชสีห์ มาพระราชทานนามเมืองว่า"อุบลราชธานี" ทรงให้ท้าวคำผงเป็นเจ้าเมืองคนแรก ซึ่งต่อมาได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น"พระปทุมวงศา"
เมืองอุบลราชธานีมีเจ้าเมืองสืบกันมาถึง 4 คน ตราบจนถึงปี พ.ศ. 2425 จึงได้มีการแต่งตั้งข้าหลวง และผู้ว่าราชการจังหวัด มาปกครองดูแลจนถึงทุกวันนี้
อุบลราชธานีตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เป็นระยะทาง 629 กิโลเมตร สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงและภูเขา มีแม่น้ำมูลไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ และมีหน้าผาหินทรายบริเวณชายฝั่งแม่น้ำโขง อันเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทย และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีพื้นที่ประมาณ 15,744 ตารางกิโลเมตร
คลิกดูแผนที่ขนาดใหญ่
  อาณาเขต
ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดยโสธรและจังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชลาว
ทิศใต้ติดกับราชอาณาจักรกัมพูชา ตามแนวเทือกเขาบรรทัด
ทิศเหนือติดกับจังหวัดอำนาจเจริญ

  ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอเมือง--  กิโลเมตร
อำเภอวารินชำราบ2  กิโลเมตร
กิ่งอำเภอสว่างวีระวงศ์23  กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเหล่าเสือโก๊ก27  กิโลเมตร
อำเภอสำโรง28  กิโลเมตร
อำเภอตาลสุม32  กิโลเมตร
อำเภอม่วงสามสิบ34  กิโลเมตร
กิ่งอำเภอนาเยีย35  กิโลเมตร
อำเภอดอนมดแดง35  กิโลเมตร
อำเภอเขื่องใน38  กิโลเมตร
อำเภอพิบูลมังสาหาร45  กิโลเมตร
อำเภอเดชอุดม45  กิโลเมตร
อำเภอตระการพืชผล50  กิโลเมตร   
อำเภอทุ่งศรีอุดม 74 กิโลเมตร
อำเภอกุดข้าวปุ้น76 กิโลเมตร
อำเภอสิรินธร80 กิโลเมตร
อำเภอศรีเมืองใหม่83 กิโลเมตร
อำเภอบุณฑริก87 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอนาตาล93 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอน้ำขุ่น97 กิโลเมตร
อำเภอโพธิ์ไทร99 กิโลเมตร
อำเภอนาจะหลวย100 กิโลเมตร
อำเภอเขมราฐ108 กิโลเมตร
อำเภอน้ำยืน110 กิโลเมตร
อำเภอโขงเจียม110 กิโลเมตร


gtประเพณีเทศกาลและแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจ

  • งานแห่เทียนพรรษา
            เป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี จัดให้มีขึ้นทุกปีในวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา สถานที่จัดคือบริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียน จะเคลื่อนขบวนจากหน้าวัดศรีอุบลรัตนารามไปตามถนนสายสำคัญในเขตเทศบาลนครอุบลฯ มาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง ในตอนกลางคืนจะมีมหรสพ และการแสดงสมโภชต้นเทียน และเห็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน
  • งานเทศกาลไม้ดอกไม้ประดับ
            เดือนกุมภาพันธ์จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณสนามกีฬาทุ่งคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ กิจกรรมที่น่าสนใจ คือ ขบวนรถบุปผชาติ การประกวดและจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ
  • งานประเพณีสงกรานต์ และเทศกาลอาหารอินโดจีน
            ในเดือนเมษายนของทุกปี จังหวัดอุบลราชธานี เทศบาลนครอุบลราชธานีและหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม และการท่องเที่ยวจัดให้มี งานสงกรานต์และเทศกาลอาหารอินโดจีน ขึ้นทุกปี ณ บริเวณสวนสาธารณะทุ่งศรีเมือง นอกจากจะได้ร่วมสรงน้ำพระแก้วบุษราคัมแล้ว ยังจะได้อิ่มอร่อยกับอาหารนานาชนิดจากประเทศเพื่อนบ้าน และภัตตาคารชื่อดัง หรือจะหลบลมร้อนไปนั่งพักผ่อนที่หาดคูเดื่อ หรือ หาดศรีภิรมย์ ลิ้มรสอาหารพื้นบ้านก็น่าสนใจ
  • งานประเพณีมหาสงกรานต์แก่งสะพือ
            ในเดือนเมษายนของทุกปี ทางเทศบาลพิบูลมังสาหาร กำหนดจัดงานประเพณีสงกรานต์แก่งสะพือขึ้นเป็นประจำ ในงานนอกจากจะมีการประกวดธิดาสงกรานต์แล้ว ยังมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าของภาคเอกชน มีการละเล่นกีฬาพื้นเมือง และการประกวดการเล่นดนตรีพื้นบ้านอีสานอีกด้วย

วัดทุ่งศรีเมืองวัดทุ่งศรีเมือง
ตั้งอยู่ที่ถนนหลวงในเขตเทศบาลเมือง สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้สร้างวัดนี้คือ ท่านเจ้าอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบล คณะภิบาลสังฆปาโมก (สุ้ย) เจ้าคณะเมืองอุบลราชธานีในสมัยนั้นท่านได้เคยศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดสระเกศราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ท่านจึงได้นำพระพุทธบาทจำลองจากวัดสระเกศฯ มายังอุบลราชธานี และได้สร้างหอพระพุทธบาทขึ้นเป็นที่ประดิษฐาน หอพระพุทธบาทหลังนี้คือ พระอุโบสถที่พระสงฆ์ใช้ทำสังฆกรรมมีลักษณะของศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้น และศิลปะเวียงจันทน์ผสมกันอยู่ ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังทุกด้านเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 อาคารที่สำคัญอีกหลังหนึ่งคือ หอพระไตรปิฎก
เป็นหอไตรที่สร้างด้วยไม้ ตั้งอยู่กลางสระน้ำ เพื่อเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก ป้องกันไม่ให้มดปลวกไปกัดทำลาย มีลักษณะเป็นศิลปะผสมระหว่างไทย พม่า และลาว กล่าวคือ ลักษณะอาคารเป็นแบบไทยเป็นเรือนฝาปะกน ขนาด 4 ห้อง ภายในห้องที่เก็บตู้พระธรรมทุกด้านเขียนลงรักปิดทอง ส่วนของหลังคามีลักษณะศิลปะไทยผสมพม่าคือมีช่อฟ้าใบระกา แต่หลังคาซ้อนกันหลายชั้นแสดงถึงอิทธิพลศิลปกรรมพม่าที่ส่งผ่านมายังศิลปะลาวล้านช้าง ส่วนลวดลายแกะสลักบนหน้าบันทั้ง 2 ด้าน เป็นลักษณะศิลปะแบบลาว ตรงส่วนฝาปะกนด้านล่างแกะเป็นรูปสัตว์ประจำราศีต่างๆ และลวดลายพันธุ์พฤกษาเป็นช่องๆโดยรอบ นับเป็นหอไตรที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่ง
เจดีย์หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพงวัดหนองป่าพง
เป็นวัดที่มีบรรยากาศร่มรื่นเงียบสงบ เหมาะแก่การเล่าเรียนพระธรรมวินัย และปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เมื่อ พ.ศ. 2497 หลวงปู่ชา สุภัทโท (พระโพธิญาณเถร) ได้ทำการบุกเบิกปรับปรุงพื้นที่ให้เหมาะสมแก่การปฎิบัติธรรม และได้จัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นในปีนั้น และเปลี่ยนสภาพเป็นวัดในโอกาสต่อมา บริเวณวัดสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจคือ พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) เป็นอาคารที่จัดแสดงเครื่องอัฐบริขาร และหุ่นขี้ผึ้งของ หลวงปู่ชา สุภัทโท เปิดให้เข้าชม ตอนเช้า เวลา 10.30-12.00 น. ตอนบ่าย เวลา 14.00-18.00 น. และยังมีเจดีย์ศรีโพธิญาณ เป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพขอ งหลวงปู่ชา การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2178 ห่างจากตัวอำเภอไปประมาณ 6 กิโลเมตรมีทางแยกขวาอีก 2 กิโลเมตร
วัดป่านานาชาติ วัดป่านานาชาติ
ตั้งอยู่ที่บ้านบุ่งหวาย ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ 14 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 226 จะมีป้ายบอกทางขวามือ ทางเข้าเดียวกับวัดป่ามงคล วัดป่านานาชาติเป็นสาขาที่ 19 ของวัดหนองป่าพง ในวัดมีชาวต่างประเทศบวชจำพรรษาเป็นจำนวนมาก เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และปฏิบัติทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน พระภิกษุชาวต่างประเทศในวัดเกือบทุกรูปสามารถ พูดภาษาไทยได้สวดภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ทำให้เป็นที่เคารพศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป
ธรรมาสน์สิงห์ศิลปะญวนที่บ้านชีทวนธรรมาสน์สิงห์ศิลปะญวนที่บ้านชีทวน
ตั้งอยู่ที่ศาลาการเปรียญวัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์ บ้านชีทวน ตำบลชีทวน อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 26 กิโลเมตร การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 23 (อุบลราชธานี-ยโสธร) ประมาณ 24 กิโลเมตร จะถึงบ้านท่าวารี (กม.268) มีทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าหมู่บ้านอีก 5 กิโลเมตร เป็นธรรมาสน์ที่แตกต่างจากธรรมาสน์โดยทั่วไปกล่าวคือ มีลักษณะเป็นรูปสิงห์ยืนเทินปราสาท (ตัวธรรมาสน์) สร้างด้วยอิฐถือปูน ยอดปราสาทเป็นเครื่องไม้ทำเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นประดับตกแต่งลายปูนปั้น และลายเขียนสีแบบศิลปะญวนทั้งหลัง ธรรมาสน์นี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2468 โดยช่างชาวญวน และถือเป็นประติมากรรมที่มีคุณค่ายิ่งทางด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง
แก่งสะพือแก่งสะพือ
เป็นแก่งหินที่สวยงามในแม่น้ำมูล ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิบูลมังสาหาร ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานี ตามทางหลวงหมายเลข 217 ประมาณ 45 กิโลเมตร คำว่า "สะพือ" เพี้ยนมาจากคำว่า "ซำฟืด" หรือ "ซำปึ้ด" ซึ่งเป็นภาษาส่วยแปลว่า งูใหญ่ หรืองูเหลือม เป็นแก่งที่มีหินน้อยใหญ่สลับซับซ้อน เมื่อกระแสน้ำไหลผ่านกระทบหิน เกิดเป็นฟองขาวมีเสียงดังตลอดเวลา ช่วงที่เหมาะสำหรับเที่ยวชมแก่งสะพือคือหน้าแล้ง ราวเดือนมกราคม-พฤษภาคม เพราะน้ำจะลดเห็นแก่งหินชัดเจนสวยงาม ส่วนหน้าฝนน้ำจะท่วมมองไม่เห็นแก่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เคยเสด็จพระราชดำเนินมาชมแก่งนี้ 2 ครั้ง ริมฝั่งแม่น้ำมีศาลาพักร้อน และร้านขายสินค้าพื้นเมือง ในวันหยุดมีประชาชนมาเที่ยวพักผ่อนกันเป็นจำนวนมาก
เขื่อนสิรินธรเขื่อนสิรินธร
ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมือง 70 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 217 แยกขวาที่กิโลเมตร 71 ไปอีก 500 เมตร เป็นเขื่อนหินแกนดินเหนียว สร้างกั้นลำโดมน้อยอันเป็นสาขาของแม่น้ำมูล ตัวเขื่อนสูง 42 เมตร ยาว 940 เมตร อำนวยประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและการชลประทาน บริเวณริมทะเลสาบมีสวนสิรินธร ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ มีรูปปั้นและน้ำพุสวยงาม มีบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บางกรวย นนทบุรี โทร. 0 2436 3271-2 หรือ ที่เขื่อนสิรินธรโทร.0 4536 6081-3
เขื่อนปากมูลเขื่อนปากมูล
เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียวสร้างกั้นแม่น้ำมูลที่บ้านหัวเหว่ อำเภอโขงเจียม มีความสูง 17 เมตร ยาว 300 เมตร อำนวยประโยชน์ในด้านการเกษตรและผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนปากมูลอยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 75 กิโลเมตร ห่างจากจุดบรรจบของแม่น้ำมูล และแม่น้ำโขงประมาณ 6 กิโลเมตร กรณีเขื่อนเปิดทำการสันของเขื่อนปากมูล สามารถใช้เป็นเส้นทางลัดจากอำเภอโขงเจียมไปอำเภอสิรินธรได้
แม่น้ำสองสีแม่น้ำสองสี
แม่น้ำสองสี หรือ ดอนด่านปากแม่น้ำมูล อยู่ในเขตบ้านเวินบึก นั่งเรือจากตัวอำเภอโขงเจียมไปประมาณ 5 นาที เป็นบริเวณที่แม่น้ำมูลไหลลงสู่แม่น้ำโขงเกิดเป็นสีของแม่น้ำที่ต่างกันจึงเรียกกันอย่างคล้องจองว่าโขงสีปูน มูลสีคราม จุดที่สามารถมองเห็นแม่น้ำสองสีได้อย่างชัดเจน คือ บริเวณลาดริมตลิ่งแม่น้ำมูล แม่น้ำโขงหน้าวัดโขงเจียม และบริเวณบางส่วนของหมู่บ้านห้วยหมาก ในเดือนเมษายน จะเป็นเดือนที่เห็นความแตกต่างของสีน้ำได้ชัดเจนที่สุด นอกจากนี้แล้วบริเวณใกล้เคียงยังมีบริการเรือพาล่องชมทัศนียภาพสองฝั่งแม่น้ำ หรือซื้อของที่ระลึกที่ตลาดหมู่บ้านในฝั่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอีกด้วย
แก่งตะนะอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
มีพื้นที่ประมาณ 50,000 ไร่ ในเขตอำเภอสิรินธรและอำเภอโขงเจียม ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเนินเขาเตี้ยๆ สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าแพะหรือป่าแดง ต้นไม้ในป่ามีลักษณะแคระแกรน บางส่วนเป็นทุ่งหญ้า ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2524 ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูลบริเวณแก่งตะนะ การเดินทางสามารถไปได้สองเส้นทางคือ ใช้ทางหลวงหมายเลข 217 (อุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร-ช่องเม็ก ประมาณ 75 กิโลเมตร) แล้วแยกซ้ายไปตามเส้นทาง 2173 อีก 13 กิโลเมตร ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือใช้ทางหลวงหมายเลข 2222 ผ่านอ.โขงเจียมประมาณ 4 กิโลเมตร แล้วข้ามแม่น้ำมูลไปอีก 12 กิโลเมตร หรืออาจใช้เส้นทางที่ข้ามสันเขื่อนปากมูลก็ได้ (กรณีที่เขื่อนเปิด)
อุทยานแห่งชาติผาแต้มอุทยานแห่งชาติผาแต้ม
ผาแต้มและผาขาม เป็นหน้าผาสูงที่สวยงามตามธรรมชาติ บริเวณด้านล่างของหน้าผามีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ปรากฏเรียงรายอยู่เป็นระยะ มีอายุไม่ต่ำกว่าสามพันถึงสี่พันปี ทางอุทยานฯ ได้ทำทางเดินจากหน้าผาด้านบนลงไปชมภาพเขียนสีเหล่านี้ที่หน้าผาด้านล่าง ระยะทางประมาณ 500 เมตร ภาพเขียนจะอยู่บนผนังหน้าผายาวติดต่อกันประมาณ 170 เมตร ซึ่งเป็นมุมต่ำกว่า 90 องศา มีภาพทั้งหมดประมาณ 300 ภาพ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ สัตว์ เครื่องมือเครื่องใช้ สัญลักษณ์ และคน ด้านตรงข้ามผาแต้มคือ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นจุดชมวิวที่สวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจ จะชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนที่แห่งใดในประเทศไทย เช่นเดียวกันกับที่หมู่บ้านเวินบึก ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงไม่ไกลจากบริเวณแม่น้ำสองสีมากนัก ซึ่งทุกวันนี้จะมีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก
น้ำตกห้วยทรายใหญ่ (บักเตว)อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย
มีพื้นที่ประมาณ 686 ตารางกิโลเมตร ในเขตอำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลวย และอำเภอน้ำยืน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาหรือที่เรียกว่า สามเหลี่ยมมรกต พื้นที่เป็นภูเขาในเทือกเขาพนมดงรัก สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2530
ในอุทยานและบริเวณใกล้เคียงมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อยู่มาก เหมาะสำหรับท่านที่ชอบเดินป่า ดูนก สำรวจพันธุ์พืช กล้วยไม้สวยงาม มีน้ำตกหลายแห่ง เช่น น้ำตกห้วยทรายใหญ่ ชมสิ่งมหัศจรรย์กุ้งเดินพาเหรดที่แก่งลำดวนในช่วงเดือนกันยายน และอื่นๆ อีกมากมาย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น